ดาเตะ มาซามูเนะจบชีวิตลงด้วยวัย 70 ที่คฤหาสน์เอโดะซากุระดะคามิเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ปี 1636 ศพเขาถูกส่งไปที่เซนไดและฝังกลบที่เคียวกะมิเนะตามพินัยกรรมของเขาเอง ซึ่งซุยโฮเด็นเป็นที่เก็บศพที่ถูกสร้างขึ้นบนสุสานเพื่อเป็นสุสาน (สุสานบูชาดวงวิญญาณ : โบสถ์ / เทวสถาน) ในการเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของดาเตะ มาซามูเนะ
ดาเตะ ทาดามูเนะ ผู้ครองแคว้นคนที่ 2 ได้สั่งให้โอคุยามะ ซึเนะโทคิซึ่งเป็นบุเกียว (เจ้าหน้าที่ซามูไรอันดับสูงสุด) เป็นผู้รับผิดชอบการก่อสร้างสุสานเพื่อเซ่นไหว้ดวงวิญญาณดาเตะ มาซามูเนะ (บิดา) ซึ่งเป็นผู้ครองนครคนแรกของแคว้นเซนได
ใน “บันทึกเทซังโคจิกะคิโระคุ” (เอกสารเก่าที่บันทึกเกี่ยวกับการเมืองของดาเตะ มาซามูเนะ) นั้น เขียนไว้ว่าได้ทำการฝังศพของดาเตะ มาซามูเนะที่เคียวกะมิเนะ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ปี 1636 และใน“บันทึกกิซังโคจิกะคิโระคุ” (เอกสารเก่าที่บันทึกเกี่ยวกับการปกครองของดาเตะ ทาดามูเนะ) ระบุไว้ว่าเริ่มก่อสร้างสุสานเมื่อเดือนกันยายน ปี 1636 และให้ชื่อว่าซุยโฮเด็น โดยสร้างเสร็จ (สมบูรณ์) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ปี 1637 ให้ทราบว่าระยะเวลาจนสุสานแล้วเสร็จรวมถึงการก่อสร้าง (งานก่อสร้างโยธา) ในเคียวกะมิเนะคือเพียง 1 ปีเท่านั้น
ไม่มีเอกสารที่บันทึกที่มาเกี่ยวกับชื่อของซุยโฮเด็น แต่ตัวอักษร “瑞” อยู่ภายในฉายาทางธรรม “ซุยกันจิเด็ง เทซัง เซ็นริ ไดโกะจิ” ของดาเตะ มาซามูเนะ และตัวอักษร “鳳” คาดว่าแสดงถึงนกนำโชคหรือหงส์ในจินตนาการซึ่งเป็นที่เคารพกันในประเทศจีนมาตั้งแต่สมัยก่อน ส่วนตัวอักษร “殿” นั้นโดยทั่วไปแสดงถึงสิ่งก่อสร้าง เช่น วัดและศาลเจ้า อีกทั้งยังกล่าวกันว่าชิ่อนี้มีที่มาจากในตัวเนื้อความของแผ่นจารึก (แผ่นที่ตอกติดบนไม้ทำสันของหลังคาและบันทึกที่มาในการก่อสร้าง) ในซุยโฮเด็นก่อนไหม้สาบสูญที่ว่า “อาคารถูกสร้างขึ้นด้วยเทคนิคที่ยอดเยี่ยม อีกอย่างหงส์เป็นมงคลนามและแสดงถึงโลกที่สงบสุขและมีความสุขที่เราอาศัยอยู่ในวันนี้” โดยมีตัวอักษร “瑞” และ “鳳凰” รวมอยู่ด้วย
ซุยโฮเด็นเป็นสุสานที่มีชื่อว่า ทามายะ (สุสานบูชาดวงวิญญาณ) โครงสร้างของสุสานนั้น หลังจากที่ฝังศพในห้องในสุสานใต้ดินแล้ว มีการสร้างอาคารโบสถ์ (โบสถ์ / เทวสถาน) ไว้บนพื้นดินเพื่อเซ่นไหว้ผู้ตายโดยวางแท่นบูชาไว้ภายในอาคารและมีรูปสลักไม้ที่แสดงรูปร่างในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ก่อนเสียชีวิตของผู้ฝังศพประดิษฐานอยู่ด้วย
ซุยโฮเด็นถูกสร้างขึ้นโดยดาเตะ ทาดามูเนะผู้ครองแคว้นคนที่ 2 ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1637 แต่ไหม้เนื่องจากการโจมตีทางอากาศเซนไดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ปี 1945 และถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยวิธีก่อสร้างปัจจุบันแบบโครงสร้างคอนกรีตเมื่อปี 1979 โดยในปี 2001 ได้มีการดำเนินการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่และการตกแต่งก็มีความใกล้เคียงกับในตอนครั้นก่อสร้างเมื่อปี 1637 เป็นอย่างมาก
ยังไม่ได้มีการคำนวณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างกรณีสร้างซุยเด็นใหม่ด้วยรูปแบบเดียวกัน (วัสดุ, วิธีการก่อสร้าง, เงื่อนไขเดียวกัน) กับตอนที่ก่อสร้างในสมัยนั้น ซึ่งสาเหตุปัจจัยที่คำนวณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างในตอนนั้นโดยเทียบกับจำนวนเงินในปัจจุบันได้ยากคือ การที่ไม่สามารถประเมินวัสดุและเทคโนโลยีในสมัยที่ก่อสร้างครั้งนั้นด้วยค่ามาตรฐานปัจจุบันในระดับเดียวกันได้ อีกทั้ง ยังไม่มีบันทึกที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างในเอกสารเก่าของตระกูลดาเตะอีกด้วย อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีการก่อสร้างทามายะ (สุสานบูชาดวงวิญญาณ) รวมถึงการก่อสร้างในเคียวกะมิเนะ (งานก่อสร้างโยธา) ด้วยเวลาเพียง 1 ปี ทำให้สันนิษฐานได้ว่ามีการใช้แรงงานคนจำนวนมาก
เรือนหลักในซุยโฮเด็นที่ถูกสร้างใหม่นั้นเป็นแบบชั้นเดียวโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาทรงเหลี่ยม (หลังคาเต็นท์) ปูกระเบื้องหลังคาแผ่นทองแดง 33.6 F = 33 ตารางเมตร (เรือนหลักเดิมก่อนไฟไหม้และพื้นที่ใช้สอยอาคารเดียวกัน) ความสูงชายคา 4.11 เมตร ความสูง (รวมส่วนปลายไข่มุกไฟ) 9 เมตร ส่วนเรือนสักการะที่ถูกสร้างขึ้นใหม่นั้นแบบชั้นเดียวโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (หมายเหตุ : เรือนสักการะที่สร้างขึ้นใหม่นั้นถูกออกแบบเป็นเรือนสักการะแบบแบ่งเป็นสองฝั่ง ทำให้มีลักษณะภายนอกและขนาดต่างกันกับเรือนสักการะก่อนไฟไหม้) หลังคาปูด้วยแผ่นทองแดงหน้าจั่ว 51.8 F = 52 ตารางเมตร (ประมาณ 1/2 ของพื้นที่ใช้สอยเรือนสักการะเดิมก่อนไฟไหม้) ความสูงชายคา 2.9 เมตร ความสูงสันหลังคา 5.2 เมตร และประตูสุสานเนะฮันมงที่สร้างขึ้นใหม่เป็นแบบชั้นเดียวโครงสร้างไม้ หลังคาปูด้วยแผ่นทองแดงเป็นขั้นแบบหน้าจั่ว 5.78 F = 59 ตารางเมตร (ประตูสุสานเดิมก่อนไหม้และพื้นที่ใช้สอยอาคารเดียวกัน) ความสูงชายคา 2.8 เมตร ความสูงสันหลังคา 5.5 เมตร ส่วนที่ถวายเครื่องเซ่นไหว้ที่สร้างใหม่ (อาคารปัจจุบันของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ซุยโฮเด็น) เป็นแบบชั้นเดียวโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาปูเรียบด้วยทองแดงทรงปั้นหยา 137F = 137 ตารางเมตร (หมายเหตุ : ที่ถวายเครื่องเซ่นไหว้ที่สร้างใหม่นั้นถูกออกแบบให้เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ทำให้ลักษณะภายนอกและขนาดต่างกันกับที่ถวายเครื่องเซ่นไหว้เดิมก่อนไฟไหม้) อีกทั้ง ที่ซุยโฮเด็นเดิมก่อนไฟไหม้นั้นจะมีระเบียงทางเดินข้ามเชื่อมระหว่างประตูจีนคาระมง เรือนหลัก และเรือนสักการะหน้าเรือนหลัก และระเบียงทางเดินรอบจากที่ถวายเครื่องเซ่นไหว้ไปจนถึงด้านข้างเรือนหลัก แต่ได้มีการละเว้นออกจากการก่อสร้างใหม่
ส่วนตัวเรือนหลักและเรือนสักการะ (ตัวโครงสร้างอาคาร) ซึ่งสร้างขึ้นใหม่เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ประตูสุสานเนะฮันมงถูกสร้างขึ้นใหม่แบบโครงสร้างไม้และมีการใช้ต้นอาโอโมริฮิบะเป็นวัสดุก่อสร้าง อีกทั้ง น้ำรักที่ใช้ในการทาเรือนหลัก เรือนสักการะ และประตูสุสานเนะฮันมงนั้น มีการทาทับครั้งสุดท้ายด้วยน้ำรักระดับสูงผลิตในประเทศ
ซุยโฮเด็นที่ถูกสร้างใหม่ด้วยวิธีการก่อสร้างปัจจุบันเมื่อปี 1979 (อ้างอิง B-8) ซึ่งใช้ค่าใช้จ่ายรวม 8 ร้อยล้านเยนด้วยจำนวนเงินในสมัยนั้นกับเวลา 5 ปี รวมถึงการขุดสำรวจพบซากโบราณที่ดำเนินการก่อนก่อสร้างไปจนถึงการก่อสร้างเรือนหลัก เรือนสักการะ ประตูสุสานเนะฮันมงและสถานที่ที่เกี่ยวข้องแล้วเสร็จ
ในปี 1945 มีกระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกรทำจากทองสัมฤทธิ์ซึ่งถูกติดตั้งไว้ที่มุมสันหลังคาของเรือนหลักที่ไหม้ไม่หมด ซึ่งซุยโฮเด็นรวมถึงประตูจีนคาระมงที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยวิธีการก่อสร้างในปัจจุบันในปี 1979 ได้มีการยกเว้นมิให้มีการแกะสลักหัวสิงโตที่ประดับเสามุมของเรือนหลักกับกระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกร อีกทั้งเรือนสักการะได้ถูกเปลี่ยนเป็นรูปแบบเรือนสักการะแบบแบ่งเป็นสองฝั่งและกลายเป็นพื้นที่ครึ่งหนึ่งของอาคารเดิมก่อนไฟไหม้ นอกจากนี้ ที่ประตูสุสานเนะฮันมงยังถูกละเว้นการแกะสลักรูปมังกรที่เคยประดับบริเวณฝั่งซ้ายขวาอีกด้วย อนึ่ง ในการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ที่ดำเนินขึ้นเมื่อปี 2001 นั้น ได้มีการบูรณะกระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกร 8 หัว และหัวสิงโต 8 หัว รวมถึงส่วนที่มีการประกอบชิ้นไม้เข้าด้วยกันและไม้คานผลิตจากคอนกรีตที่เสื่อมสภาพอย่างเห็นได้ชัดเองก็ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นวัสดุไม้อีกด้วย
ที่มุมสันหลังคาของซุยโฮเด็นเดิมก่อนไฟไหม้นั้น จะมีกระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกร “A Un” รวม 8 ชิ้น (สร้างขึ้นโดยทาคาดะ คิวเบะในปี 1637) ถูกติดตั้งเอาไว้ โดยซุยโฮเด็นได้ไหม้เนื่องจากภัยจากสงครามเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ปี 1945 แต่กระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกรทำจากทองสัมฤทธิ์นั้นโชคดีที่ไหม้ไม่หมด (ยังไม่ได้ตรวจสอบจำนวนที่ยังหลงเหลืออยู่) ซึ่ง 4 หัวภายในนั้น (A 1 หัว, Un 3 หัว) นั้น ตำบลมัตสึชิมะ (จังหวัดมิยางิ) เป็นผู้เก็บรักษา และอีก 2 หัว วัดซุยโฮจิ (เมืองเซนได) เป็นผู้เก็บรักษา และในวันที่ 24 พฤษภาคมปี 1999 2 หัว “Un” ภายในกระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกรที่ทางเมืองมัตสึชิมะครอบครองนั้น ได้ถูกส่งกลับซุยโฮเด็นที่มีการสร้างขึ้นใหม่ผ่านตระกูลดาเตะ (ดาเตะ ยาซุมูเนะหัวหน้าตระกูลรุ่นที่ 18) และถูกจัดแสดงอยู่ภายในพื้นที่ซุยโฮเด็นและภายในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ซุยโฮเด็น ทำให้ในปัจจุบันกระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกรที่ตรวจสอบได้นั้นมีอยู่รวม 6 หัว
ซุยโฮเด็นซึ่งเป็นสมบัติของชาตินั้นได้ถูกไฟไหม้เนื่องจากการโจมตีทางอากาศเซนไดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ปี 1945 และสูญเสียคุณค่าในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (สิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์) ไม่สามารถแสดงให้เห็นเป็นรูปร่างได้ แต่อาจพูดได้ว่าเราได้สูญเสียมรดกทางจิตใจในฐานะสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของเซนไดไป
ตระกูลดาเตะมีการใช้ตราสัญลักษณ์ประจำตระกูล “มิบิกิเรียว (วงกลมที่มีเส้นแนวนอนสามเส้น)” “คิคุ (เบญจมาศ)“ “คิริ (ต้นพอโลเนีย)” “โบะตัน (ดอกโบตั๋น)” “คานิโบะตัน (ปูและดอกโบตั๋น)” “คุโย (เทพนพเคราะห์)” และ“ยูกิอุสึ (หิมะบาง)” นอกเหนือจาก “ทาเกะนิซุซุเมะ (นกกระจอกในต้นไผ่)” ซึ่งเป็นตราประจำตระกูล ซึ่งตรา “คิคุ” และ “คิริ” เป็นตราที่ได้รับมาจากโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ นอกจากซุยโฮเด็นแล้วยังมีติดอยู่ที่วัดซุยกันจิ ศาลเจ้าโอซากิฮาจิมังกุ และปราสาทเซนไดที่ไฟไหม้เช่นกัน
ที่กรอบรูปด้านยาวบริเวณเรือนสักการะในซุยโฮเด็นเดิมก่อนไฟไหม้นั้นมีการลงชื่อเอาไว้ว่า “ซะบุนซัง ในวัย 76 ปี” (ซะบุนซัง : ซาซากิ บุนซัง (นักเขียนตัวอักษร)) อนึ่ง กรอบรูปด้านยาวที่บริเวณเรือนสักการะในซุยโฮเด็นซึ่งถูกสร้างใหม่นั้นเป็นกรอบรูปที่มีการบูรณะขึ้นใหม่โดยอ้างอิงจากภาพถ่ายของซุยโฮเด็นเดิมก่อนไฟไหม้
ซุยโฮเด็นเดิมก่อนไฟไหม้เคยถูกกำหนดให้เป็นสมบัติของชาติในฐานะสถาปัตยกรรมสุสานรูปแบบโมโมยามะช่วงต้นยุคสมัยเอโดะ ส่วนซุยโฮเด็นในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในปี 1979 ด้วยวิธีการก่อสร้างแบบปัจจุบันจึงไม่ได้รับการระบุให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
ซุยโฮเด็นหรือสุสาน (สุสานบูชาดวงวิญญาณ) ของดาเตะ มาซามูเนะ ผู้ครองนครคนแรกของแคว้นเซนไดซึ่งถูกสร้างใหม่ในปี 1979 นั้น จากประวัติที่เคยถูกไฟไหม้จากภัยของสงครามทำให้มีการนำโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กแบบทนไฟนำมาใช้ อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ก่อสร้างใหม่เวลาได้ผ่านล่วงเลยไป 20 ปีแล้ว วัสดุคอนกรีตจึงเกิดการเสื่อมสภาพ (ทรุดพัง) จึงได้รับการรายงานจากคณะกรรมการสำรวจสาเหตุการเสื่อมสภาพของสถาปัตยกรรมลงรักซุยโฮเด็นและคณะกรรมการประเมินการบูรณะซุยโฮเด็น และได้ดำเนินการบูรณะรอบด้านเริ่มจากส่วนพื้นฐานของตัวอาคาร (งานซ่อมแซมรอบด้านโดยเริ่มจากส่วนตัวอาคาร) รวมถึงได้มีการบูรณะฟื้นฟูกระเบื้องหลังคาแกะสลักรูปหัวมังกร 8 หัวและงานแกะสลักหัวสิงโต 8 หัวที่ถูกละเว้นไว้ในสมัยที่มีการสร้างใหม่ อีกทั้ง การตกแต่งเช่น ลายแกะสลักและตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ ก็มีการฟื้นฟูด้วยโทนสีที่ใกล้เคียงในสมัยที่ก่อสร้างในปี 1637 อีกด้วย
ซุยโฮเด็นถูกสร้างขึ้นใหม่โดยสมาคมฟื้นฟูซุยโฮเด็นในปี 1979 และหลังจากนั้นทางมูลนิธิซุยโฮเด็นจึงได้เข้ามาบริหารจัดการนับจากนั้นเป็นต้นมา
สามารถเห็นได้ภายในสุสานไดเมียวคนอื่น ๆ ในสมัยเอโดะ อีกทั้ง แม้แต่ที่แคว้นเซนไดเอง ภายในตระกูลและผู้ครองแคว้นคนที่ 2 และ 3 ก่อนหน้าดาเตะ สึนามูระผู้ครองแคว้นคนที่ 4 ก็มีการสร้างสุสานที่เรียกกันว่า ทามายะ : สุสานบูชาดวงวิญญาณ (ทางมูลนิธิซุยโฮเด็นเรียกและเขียนแสดงว่า ทามายะ โดยรวมกับทามายะชิตะเขตอาโอบะ เมืองเซนไดซึ่งเป็นชื่อสถานที่ตั้งในปัจจุบัน) เช่นเดียวกับซุยโฮเด็น