Language

ZUIHODEN  The mausoleum Masamune Date of the first feudal load  of Sendai-Han

กล่องคำถาม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับซุยโฮเด็น

เกี่ยวกับพื้นที่สุสานเคียวกะมิเนะและสถานที่ทางประวัติศาสตร์โดยรอบ

D-1. โปรดบอกที่มาของชื่อที่เรียกว่า เคียวกะมิเนะ

เคียวกะมิเนะเป็นสถานที่ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อฮากิงะซากิในคุโระนุมะ หมู่บ้านเนงิชิ อำเภอนะโทริในสมัยก่อน กล่าวกันว่ามังไคโชนินซึ่งเป็นพระผู้ไปบำเพ็ญตนตามป่าเขาในช่วงปลายยุคกลางได้เก็บพระสูตรไว้ที่ยอดเขาทางทิศตะวันออกของพื้นที่นี้ ทำให้ถูกตั้งชื่อว่าเคียวกะมิเนะ

D-2. เคียวกะมิเนะเคยเป็นสถานที่ต้องห้ามมาเป็นเวลาหลายปีหรือไม่

นับตั้งแต่ยุคศักดินา เคียวกะมิเนะได้เป็นสถานที่ที่มีการอนุญาตให้เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเข้ามาเท่านั้นในฐานะเขตศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีสุสานของตระกูลดาเตะตั้งอยู่ โดยภายหลังสงคราม (โชวะ) ตระกูลดาเตะได้ยกพื้นที่แห่งนี้ให้กับเมืองเซนได (จังหวัดมิยางิ) และในปัจจุบันจำเป็นต้องมีการรักษาให้อยู่ในสภาพเดิมเพื่อเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของเมืองเซนได “สุสานตระกูลดาเตะเคียวกะมิเนะ” (70000 ตารางเมตร) รวมถึงได้รับการควบคุมดูแลโดยมูลนิธิซุยโฮเด็น

D-3. โปรดบอกเกี่ยวกับความสูงจากระดับน้ำทะเล จำนวนและอายุของต้นสน รวมถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ที่เคียวกะมิเนะ

ความสูงจากระดับน้ำทะเลของเคียวกะมิเนะคือ 73.6 เมตร ต้นสนในเคียวกะมิเนะเป็นต้นสนที่มีการปลูกขณะสร้างซุยโฮเด็น เป็นต้นสนเก่าแก่อายุ 370 ปี ซึ่งต้นสนที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดนั้นมีความสูงต้นประมาณ 44 เมตร และระยะโดยรอบเมื่อสัมผัสกับพื้นดิน 5.07 เมตร ต้นสนที่มีอายุมากกว่า 350 ปีมีอยู่ 47 ต้น (จำนวนต้นตามการสำรวจเมื่อปี 1980) ส่วนอื่น ๆ จะเป็นต้นสนที่มีอายุต่ำกว่า 200 ปี และที่เคียวกะมิเนะจะมีกระรอกบินยักษ์ญี่ปุ่น (วงศ์กระรอก : เป็นสัตว์หากินในเวลากลางคืนและเคลื่อนที่โดยการร่อนกลางอากาศจากต้นไม้หนึ่งไปยังอีกต้นไม้หนึ่ง) รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น กระรอกญี่ปุ่น และนกมากกว่า 40 ชนิด เช่น นกหัวขวานญี่ปุ่นซึ่งเป็นหนึ่งในวงศ์นกหัวขวาน อีกทั้ง ที่เงื้อมผาเลียบแม่น้ำฮิโรเสะฝั่งทิศตะวันตกของเคียวกะมิเนะยังมีเหยี่ยวเคสเตรลซึ่งเป็นหนึ่งในวงส์นกเหยี่ยวอาศัยอยู่ด้วย

D-4. ที่เคียวกะมิเนะมีสุสานของใครตั้งอยู่อีกบ้าง

นอกเหนือจากดาเตะ มาซามูเนะที่สุสานตระกูลดาเตะเคียวกะมิเนะจะมีสุสานเมียวอุนไคเบียวซึ่งจะมีซุยโฮเด็น (สุสานบูชาดวงวิญญาณ) ของดาเตะ มาซามูเนะ ผู้ครองนครคนแรกของแคว้นเซนได คันเซ็นเด็น (สุสานบูชาดวงวิญญาณ) ของทาดามูเนะผู้ครองแคว้นคนที่ 2 เซ็นโนเด็น (สุสานบูชาดวงวิญญาณ) ของสึนามูเนะผู้ครองแคว้นคนที่ 3 หลุมศพของชิคามูเนะผู้ครองแคว้นคนที่ 9 และนาริโยชิผู้ครองแคว้นคนที่ 11 พร้อมด้วยภรรยาของเขาชิบะฮิเมะ รวมถึงโอโกะซามะโกะเบียวซึ่งเป็นสุสานของทายาทผู้สืบเชื้อสายตระกูลตั้งแต่โยชิมูระผู้ครองแคว้นคนที่ 5 เป็นต้นมาตั้งอยู่

D-5. โปรดบอกเกี่ยวกับคันเซ็นเด็น

คันเซ็นเด็นเป็นสุสาน (สุสานบูชาดวงวิญญาณ) ของดาเตะ ทาดามูเนะผู้ครองแคว้นคนที่ 2 ซึ่งเสียชีวิตด้วยวัย 60 ปีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ปี 1658 และถูกสร้างขึ้นในยุคสมัยของสึนามูระผู้ครองแคว้นคนที่ 4 ปี 1664 โดยคันเซ็นเด็นถูกกำหนดให้เป็นสมบัติของชาติเมื่อปี 1931 แต่ไฟไหม้เนื่องจากภัยของสงครามในวันที่ 10 กรกฎาคม ปี 1945 ซึ่งสุสานในปัจจุบันเป็นสุสานที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี 1985

D-6. โปรดบอกเกี่ยวกับเซ็นโนเด็น

เซ็นโนเด็นเป็นสุสาน (สุสานบูชาดวงวิญญาณ) ของดาเตะ สึนามูเนะผู้ครองแคว้นคนที่ 3 ซึ่งเสียชีวิตด้วยวัย 72 ปี เมื่อวันที่ 4 เมษายน ปี 1711 ลูกสร้างขึ้นในยุคสมัยของโยชิมูระผู้ครองแคว้นคนที่ 6 ในปี 1716 แต่ไฟไหม้เนื่องจากภัยของสงครามในวันที่ 10 กรกฎาคม ปี 1945 ซึ่งสุสานในปัจจุบันเป็นสุสานที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี 1985

D-7. ทำไมสุสานที่อยู่ที่เมียวอุนไคเบียวถึงไม่ใช่สุสาน (สุสานบูชาดวงวิญญาณ) แต่เป็นแผ่นหินจารึกที่หลุมศพ

สุสานตระกูลดาเตะไดเน็งจิยามะซึ่งมีสุสานรุ่นตั้งแต่ดาเตะ สึนามูระผู้ครองแคว้นคนที่ 4 เป็นต้นมาตั้งอยู่ (มุจินโตเบียวและโฮกะรินเบียว) นั้น ได้มีการยกเลิกการก่อสร้างสุสานและเปลี่ยนเป็นแท่นจารึกหินเรียบ (แผ่นหินจารึกที่หลุมศพ) ในมาตรฐานที่กำหนดตามคำสั่งของสึนามูระ นอกจากนี้ ตั้งแต่โยชิมูระผู้ครองแคว้นคนที่ 5 เป็นต้นมา หลุมศพของสามีภรรยาได้ถูกวางเรียงคู่กัน และการเรียกชื่อโดยรวมก็มีการแยกประเภทจากโอะทามายะเป็นโกะเบียวแทน โดยที่เมียวอุนไคเบียวซึ่งเป็นสุสานตระกูลดาตะเคียวกะมิเนะจะมีหลุมศพของชิคามูเนะผู้ครองแคว้นคนที่ 9 กับนาริโยชิผู้ครองแคว้นคนที่ 11 พร้อมด้วยภรรยาของเขาตั้งอยู่ การที่รูปแบบลักษณะของหลุมศพได้กลายเป็นแผ่นหินจารึกที่หลุมศพแทนนั้น ก็เนื่องมาจากเหตุผลข้างต้น อนึ่ง ในช่วงต้นเมจินั้น ตระกูลดาเตะได้แก้ไขรูปแบบการเซ่นไหว้ของสุสาน (พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ) จากแบบพุทธเป็นแบบชินโต และหลุมศพนับตั้งแต่โยชิคุนิผู้ครองแคว้นคนที่ 13 เป็นต้นมานั้นได้กลายเป็นรูปแบบเนินหลุมฝังศพเล็ก ๆ ที่เรียกว่า โดะมันจู (สุสานฝังศพแบบกองดินเป็นเนินกลม) แทน

D-8. โปรดบอกเกี่ยวกับโอโกะซามะโกะเบียว

เป็นสุสานที่ตั้งขึ้นหลังปี 1713 โดยมีทายาท (บุตร) ของผู้ครองแคว้นที่เสียชีวิตในวัยเยาว์ตั้งแต่ยุคสมัยของดาเตะ โยชิมูระผู้ครองแคว้นคนที่ 5 จนถึงยุคสมัยของโยชิคุนิผู้ครองแคว้นคนที่ 13 ถูกฝั่งอยู่ อีกทั้ง ยังมีหลุมศพของนางสนมและหญิงชราผู้รับใช้ตั้งอยู่ที่พื้นที่สุสานเดียวกัน 7 หลุมอีกด้วย

D-9. โปรดบอกจำนวนขั้นของบันไดหินบริเวณทางเข้าซุยโฮเด็น

หากขึ้นทางลาดหน้าวัดซุยโฮจิและเดินขึ้นไปบนบันไดหินอีก 15 ขั้น จะถึงชานบันไดที่ปูพื้นด้วยหินเป็นจำนวน 3 ขั้น ซึ่งบันไดหิน 62 ขั้น (ปัจจุบันมี 63 ขั้น) นั้น จะเชื่อมไปถึงซุยโฮเด็น (สุสานบูชาดวงวิญญาณ) ของดาเตะ มาซามูเนะซึ่งเป็นผู้ครองนครคนแรกของแคว้น ส่วนบันไดหินอีก 59 ขั้นทางขวาจะเชื่อมไปถึงคันเซ็นเด็นสุสานของทาดามูเนะผู้ครองแคว้นคนที่ 2 และเซ็นโนเด็นสุสานของสึนามูเนะผู้ครองแคว้นคนที่ 3 บันไดหินและชานบันไดเรียบนั้นเป็นบันไดที่มีการปูแผ่นหินที่ไม่ได้ผ่านการตกแต่งใด ๆ และไม่เกิดช่องว่าง ซึ่งเป็นทักษะความชำนาญด้านงานหินที่ยอดเยี่ยม อีกทั้งเนื่องจากซุยโฮเด็น คันเซ็นเด็น และเซ็นโนเด็นเป็นสุสานที่มีการจัดวางสถาปัตยกรรมไว้ที่ราบ ทำให้มีการสร้างกำแพงหินเพื่อป้องกันการถล่มของดินทราบในบริเวณโดยรอบและทำให้ทราบถึงเทคนิคทางวิศวกรรมโยธาอันยอดเยี่ยมของแคว้นเซนได

D-10. โปรดบอกเกี่ยวกับแผ่นหินจารึกที่หลุมศพของผู้ที่ปลิดชีพของตนตามเจ้านายซึ่งอยู่ที่ซุยโฮเด็นและคันเซ็นเด็น

ที่ด้านข้างทั้งซ้ายและขวาของเรือนหลักในซุยโฮเด็นนั้น จะมีสถูปโฮเคียวอินโต (เจดีย์อนุสรณ์) ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นหลุมศพของนายพลอิชิดะและข้ารับใช้ที่ขึ้นตรง 15 คนกับผู้คอยติดตามข้ารับใช้ 5 คนที่ได้ปลิดชีพของตนตามดาเตะ มาซามูเนะผู้ครองนครคนแรกของแคว้นตั้งอยู่ อีกทั้ง ด้านข้างทั้งซ้ายและขวาของเรือนหลักในคันเซ็นเด็นก็มีสถูปโฮเคียวอินโตของข้ารับใช้เหล่านายในฟุรุอุจิและข้ารับใช้ที่ขึ้นตรง 12 คนกับผู้คอยติดตามข้ารับใช้ 4 คนที่ได้ปลิดชีพของตนตามทาดามูเนะผู้ครองแคว้นคนที่ 2 ตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน

D-11. ทำไมจึงมีเจดีย์อนุสรณ์ของมังไคโชนินอยู่ภายในซุยโฮเด็นด้วย

จากเอกสารเก่ามีการบันทึกเรื่องเล่าไว้ว่าห้องที่สร้างด้วยหินปรากฏขึ้นจากใต้ดินขณะก่อสร้างสุสานของดาเตะ มาซามูเนะ และพอนำหินที่คลุมไว้ออกก็พบไม้ขักขระและลูกประคำอยู่ด้านใน และจากการที่โอคุยามะ ซึเนะโทคิซึ่งเป็นผู้ควบคุมการสร้างสุสานได้สอบถามไปยังคนเก่าแก่ในพื้นที่ ทำให้ทราบว่าสถานที่แห่งนี้เคยเป็นร่องรอยหลุมศพที่มังไคโชนินซึ่งเป็นผู้ที่บำเพ็ญตนตามป่าเขาในยุโดะโนะซังเข้ามานั่งสมาธิ อีกทั้ง ได้มีบันทึกไว้ในแผนภาพเก่าอีกว่า “สถูปมังไคโชนิน” ถูกสร้างเอาไว้ที่ด้านทิศตะวันออกของเรือนหลักของซุยโฮเด็นก่อนที่จะไหม้ด้วยภัยของสงครามอีกด้วย ซึ่งแผ่นหินหน้าหลุมฝังศพที่มีชื่อว่า “สถูปมังไคโชนิน” ได้สูญหายจากภัยของสงครามและชำรุดเสียหายหลังจากนั้นในปี 1945 โดยเจดีย์อนุสรณ์ในปัจจุบันเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นที่พื้นที่ซังคุทสึ (สถานที่พักผ่อนเมื่อผู้ครองแคว้นมาเยือน) ซึ่งตั้งอยู่ที่ด้านตรงข้ามของที่ถวายเครื่องเซ่นไหว้ (พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ซุยโฮเด็นในปัจจุบัน) เมื่อปี 1989

D-12. โปรดบอกเกี่ยวกับอนุสาวรีย์วีรชนโจคนฮิที่อยู่ภายในซุยโฮเด็น

มีอนุสรณ์สถานทำจากเหล็กที่บันทึกไว้ว่าอนุสาวรีย์วีรชนโจคนฮิตั้งอยู่ด้านหลังทางทิศใต้ของพื้นที่สุสานตระกูลดาเตะเคียวกะมิเนะ โดยเกิดความวุ่นวายที่จะแบ่งแยกประเทศญี่ปุ่นออกเป็นสองส่วนตอนปฏิวัติเมจิและตั้งชื่อ สงครามโบชินตามปฏิทิน แคว้นต่าง ๆ ในโทโฮคุและโฮคุเอ็ตสึได้ก่อตั้งพันธมิตรทางทหารโออุเอ็ตสึเรปปังขึ้นเพื่อเตรียมการป้องกันและได้ต่อสู้กับแคว้นต่าง ๆ ในชิโกกุ แต่พันธมิตรทางทหารได้ล่มสลายลงภายใน 3 เดือนเนื่องจากคุณภาพของอาวุธและสถานการณ์ต่าง ๆ ในแต่ละแคว้น ซึ่งแคว้นเซนไดได้สู้รบในโทโฮคุและเอจิโกะ (จังหวัดนีงะตะ) ในฐานะผู้นำพันธมิตร สูญเสียทหาร 1,260 นาย รวมทหารของพันธมิตรและทหารของรัฐบาลเสียชีวิตราว 8,000 คน อนุสาวรีย์วีรชนโจคนฮิเป็นอนุสรณ์สถานที่ดาเตะ มูเนะโมโตะหัวหน้าตระกูลรุ่นที่ 14 ได้สร้างอนุสาวรีย์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแคบ (อนุสรณ์สถานที่สร้างด้านหน้าเทวสถาน) ไว้ด้านบนแท่นหินในพื้นที่หอระฆังซุยโฮเด็น มีความสูงจากพื้นดินประมาณ 4.5 เมตร และข้อความจารึกทำขึ้นโดยโอสึกิ ฟูมิฮิโกะ

D-13. โปรดบอกเกี่ยวกับ “ต้นบ๊วยกะริวไบ” ที่อยู่ภายในซุยโฮเด็น

จากสภาพ (รูปร่าง) ที่คว่ำหน้าลงบนพื้นดินทำให้เรียกกันว่า “กะริวไบ (ต้นบ๊วยซ่อนมังกร)” กล่าวกันว่าดาเตะ มาซามูเนะซึ่งข้ามทะเลด้วยการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่นได้นำกลับมาจกเกาหลีและหลังจากที่ให้คนนำไปปลูกที่ปราสาทเซนไดแล้วก็ได้ย้ายไปปลูกใหม่ที่ปราสาทวาคาบายาชิ (ฟุรุจิโระ เมืองเซนได) ซึ่งเคยเป็นสถานที่ปลดเกษียณของมาซามูเนะ “กะริวไบ” ที่อยู่ที่ซุยโฮเด็นนั้น เป็นต้นบ๊วยที่ถูกตอนกิ่งมาจาก “กะริวไบ” ในฟุรุจิโระ (อนุสาวรีย์ธรรมชาติของประเทศ) และเป็นต้นบ๊วยที่ปลูกเพื่อเป็นที่ระลึกในการก่อสร้างใหม่ของซุยโฮเด็น

D-14. เจดีย์หินมุโฮโตที่ตั้งอยู่ที่ด้านข้างเซ็นโนเด็นคือหลุมศพของใคร

เป็นหลุมศพของผู้ปลิดชีพโดยเรียกกันว่า มุโฮโต ซึ่งผ่านไปกว่า 48 ปีแล้วนับตั้งแต่ที่มีคำสั่งห้ามมิให้ปลิดชีพตั้งแต่ปี 1711 ที่ดาเตะ สึนามูเนะผู้ครองแคว้นคนที่ 3 เสียชีวิต แต่ข้ารับใช้ 14 คนได้โกนผมโดยขออนุญาตจากผู้ครองแคว้นและภาวนาถึงความสงบสุขหลังจากถึงแก่กรรมของเจ้านายเป็นเวลา 100 วัน ซึ่งสิ่งนี้เป็นขนบธรรมเนียมเพื่อทำแทนการปลิดชีพโดยเรียกว่า กิจุน แต่มีเพียงคุมะไกอิตสึกิ นาโอกิโยะซึ่งเคยเป็นหัวหน้าคนรับใช้เท่านั้นที่ได้ออกบวชโดยให้ชื่อว่า เคโซ นาโอกิโยะเสียชีวิตด้วยวัย 71 ปี เมื่อปี 1733 โดยศพถูกฝังอยู่ที่ทางทิศใต้ด้านหน้าของเซ็นโนเด็น

D-15. ซุยโฮเด็นและวัดซุยโฮจิ

ในปี 1637 ดาเตะ ทาดามูเนะผู้ครองแคว้นคนที่ 2 ได้สร้างวัดซุยโฮจิเพื่อเป็นวัดประจำตระกูล (วัดที่ถวายดอกไม้และธูปหน้าพระพุทธรูป) ไว้ที่เนินเขาทางเข้าวัดตามการก่อสร้างซุยโฮเด็น และจากการที่สร้างคันเซ็นเด็นและเซ็นโนเด็นไว้ที่เคียวกะมิเนะ ยุคศักดินาได้มีวัดย่อยและวัดเล็ก ๆ มากมายในฐานะวัดประจำตระกูล แต่ได้กลายเป็นวัดร้างเนื่องจากความเคลื่อนไหวเพื่อขจัดพุทธศาสนาในช่วงต้นสมัยเมจิ ซึ่งวัดซุยโฮจิในปัจจุบันเป็นวัดที่ได้รับการบูรณะฟื้นฟูในปี 1926 แต่มูลนิธิซุยโฮเด็นกัลป์วัดซุยโฮจิที่ควบคุมดูแลซุยโฮเด็น คันเซ็นเด็น และเซ็นโนเด็นที่ถูกสร้างขึ้นใหม่นั้นเป็นองค์กรที่แยกออกจากกัน

D-16. โปรดบอกเกี่ยวกับหลุมศพของบุคคลที่มาจากจังหวัดคะโงะชิมะซึ่งอยู่ที่วัดซุยโฮจิ

ทหารไซโกที่ติดตามกองทัพในสงครามเซนันและยอมพ่ายแพ้ต่อกำลังกองทัพของรัฐในปี 1877 นั้น ได้ถูกควบคุมตัวไปส่งยังคุกทั่วประเทศในความผิดฐานกบฏ โดย 305 คนได้ถูกกักขังที่คุกในจังหวัดมิยางิ แต่พวกเขาได้ดำเนินงานพัฒนาที่ดินและงานก่อสร้างท่าเรือภายในจังหวัดมิยางิและอุทิศตนให้กับการพัฒนาจังหวัดมิยางิในช่วงต้นสมัยเมจิ 13 คนภายในนั้นได้เสียชีวิตภายในคุกและได้รับการฝังที่วัดซุยโฮจิ (ตามประกาศของสมาคมบุคคลที่มีถิ่นกำเนิดจังหวัดมิยางิและคะโงะชิมะ “หลุมศพบุคคลที่มาจากจังหวัดคะโงะชิมะทั้งเจ็ด”)

D-17. “ประตูทาคาโอะโนะมง” ที่อยู่ที่วัดซุยโฮจิมีความเกี่ยวข้องกับ “ดาเตะ โซโด” หรือไม่

ประตูนี้เป็นประตูที่มีการนำประตูที่อยู่ในคฤหาสน์ซูกิโนะ ฮาระชินะ ภรรยารองของดาเตะ สึนามูเนะ ผู้ครองแคว้นคนที่ 3 ซึ่งเข้าไปพัวพันใน “ดาเตะ โซโด” (เหตุความไม่สงบแห่งดาเตะ) ย้ายไปติดตั้งภายในวัดซุยโฮจิ ซึ่งที่รันมะ (แผงไม้) มีคำว่า “ยูกิอุสึ” ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นผลงานของสึนามูเนะติดอยู่ด้วย อนึ่ง “ประตูทาคาโอะโนะมง” เป็นชื่อทั่วไปของตัวละครที่ปรากฏในละครคาบูกิ “เมโบกุเซนไดฮากิ” ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “ดาเตะ โซโด” (เหตุความไม่สงบแห่งดาเตะ) และไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์แต่อย่างใด